เมนู

เพียรเลวนั้นเสีย พึงอยู่ร่วมกับบัณฑิตผู้สงัด ผู้เป็น
อริยะ ผู้มีใจสูง ผู้เพ่งพินิจ ผู้ปรารภความเพียร
เป็นนิตย์.

จบสตาปารัทธสูตรที่ 6

อรรถกถาสตาปารัทธสูตรที่ 6



พึงทราบวินิจฉัยในสตาปรัทธสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้.
บทว่า คูโถ คูเถน สํสนฺทติ สเมติ ความว่า คูถแม้อยู่ระหว่างสมุทร
ระหว่างชนบท ระหว่างจักรวาล โดยสีก็ดี โดยกลิ่นก็ดี โดยรสก็ดี ไม่เข้า
ถึงความต่างกัน ย่อมเข้ากันได้ รวมกันได้ คือเป็นเช่นเดียวกันและเป็น
นิรันดร. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. ก็อุปมาด้วยของไม่น่าปรารถนานี้
ท่านนำมาเพื่อแสดงความที่อัธยาศัยของผู้มีอัธยาศัยเลวเสมอกัน อุปมา
ด้วยของดีเลิศมีน้ำนมเป็นต้น ท่านนำมาเพื่อแสดงความที่อัธยาศัยของผู้มี
อัธยาศัยดีเสมอกัน.
บทว่า สํสคฺคา ความว่า ด้วยความสิเนหาด้วยตัณหามีการเห็น
การฟังและการคบค้ากันเป็นต้นเป็นที่ตั้ง. บทว่า วนโถ ชาโต ได้แก่
ป่าคือกิเลสเกิดแล้ว. บทว่า อสํสคฺเคน ฉิชฺชติ ความว่า เมื่อไม่
กระทำการยืนและการนั่งร่วมกัน ก็ย่อมขาด เพราะไม่คบค้าสมาคมคือ
ไม่พบเห็นกัน. บทว่า สาธุชีวี ได้แก่ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็มีชีวิตบริสุทธิ์.
บทว่า สหาวเส ได้เเก่ พึงอยู่ร่วมกัน.
จบอรรถกถาสตาปารัทธสูตรที่ 6